นะมะการะสิทธิคาถา
บทสวด
โย จักขุมา โมหะมาลาปะกัฏโฐ มารัสสะ ปาสา วินิโม จะยันโต พุทธังวะรันตัง สิระสานะมามิ ตันเตชะสาเต ชะยะสิทธิ โหตุ ธัมโม ธะโช โย วิยะ ตัสสะ สัตถุ นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะธารี ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ สัทธัมมะเสนาสุคะตานุโค โย สันโต สะยัง สันตินิโยชะโก จะ สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ |
สามัง วะพุทโธ สุคะโต วิมุตโต ปาเปสิ เขมัง ชะนะตังวิเนยยัง โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ สัพพันตะรายา จะวินาสะเมนตุ ทัสเสสิโลกัสสะ วิสุทธิมัคคัง สาตาวะโห สันติกะโร สุจิณโณ โมหัปปะทาลัง อุปะสันตะทาหัง สัพพันตะรายา จะวินาสะเมนตุ โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะเชตา สะวากขาตะธัมมัง วิทิตัง กะโรติ พุทธา นุพุทธัง สะมะสีละทิฎฐิง สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ |
คำแปล
ท่านพระองค์ใดมีพระปัญญาจักษุขจัดมลทิน คือโมหะเสียแล้ว ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโดยลำพังพระองค์เอง เสด็จไปดีพ้นไปแล้ว ทรงเปลื้องชุมนุมชนอันเป็นเวไนยจากบ่วงแห่งมาร นำให้ถึงความเกษม ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายนมัสการ พระพุทธเจ้าผู้บวร พระองค์นั้น ผู้เป็นนาถะแลเป็นผู้นำแห่งโลก ด้วยเดชพระพุทธเจ้านั้น ขอความสำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแก่ท่าน แลขออันตรายทั้งมวลจงถึงความพินาศ,พระธรรมเจ้าใดเป็นดุจธงชัยแห่งพระศาสดาพระองค์นั้น สำแดงทางแห่งความบริสุทธิ์แก่โลก เป็นคุณอันนำยุคเข็ญ คุ้มครองชนผู้ทรงธรรม ประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาทำความสงบ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายนมัสการ พระธรรมอันบวรนั้น อันทำลายโมหะระงับความเร่าร้อน ด้วยเดชพระธรรมเจ้านั้น ขอความสำเร็จแห่งชนะจงมีแก่ท่าน แลขออันตรายทั้งมวลจงถึงความพินาศ พระสงฆเจ้าใด เป็นเสนาประกาศพระสัทธรรม ดำเนินตามพระศาสดาผู้เสด็จดีแล้ว ผจญเสียซึ่งอุปกิเลสอันลามกของโลก เป็นผู้สงบเองด้วยประกอบผู้อื่นไว้ในความสงบด้วย ย่อมทำพระธรรม อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว ให้มีผู้รู้ตาม ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายนมัสการ พระสงฆเจ้าผู้บวรนั้น ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้ามีศีลแลทิฎฐิเสมอกัน ด้วยเดชพระสงฆเจ้านั้น ขอความ สำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแก่ท่าน แลขออันตรายทั้งมวลจงถึงความ พินาศเทอญ
หมายเหตุ
บทนมการสิทธิคาถานี้ เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเพื่อใช้สวดแทนบท สัมพุทเธ ด้วยเหตุผลที่ว่าบทสัมพุทเธแสดงเหตุผลแบบมหายาน แต่บทสัมพุทเธก็ยังนิยมสวดกันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนมากนิยมสวด นมการสิทธิคาถานี้สลับกับบท สัมพุทเธ คือหากสวดบทสัมพุทเธก็ไม่ต้องสวดนมการสิทธิคาถา หรือหากสวดบทนมการสิทธิคาถาแล้วก็ไม่ต้องสวดสัมพุทเธ แต่บางแห่งนิยมสวดทั้งสองบทในงานเดียวกันก็มี